วัดท่าหลวง
วัดท่าหลวง เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตร เพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร
อุทยานเมืองเก่าพิจิตร อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า สร้างในสมัยพระยาโคตรบอง ประมาณปี พ.ศ. 1601 ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นเมืองโบราณ ประกอบไปด้วย กำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมารซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และภายในอุทยานยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจ คือ
ศาลหลักเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พ่อปู่
วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนื้เมื่อ พ.ศ.2478 ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆ ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา 2 ชั้น มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่
ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะเป็นช่องขุดลึกลงไปในดิน มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่ง ก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย
เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยุ่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะแต่ตื้นเขิน สันนิษฐานว่าแต่เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก ทางหลวงหมายเลข 115 และ ทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 6
ศาลหลักเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พ่อปู่
วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนื้เมื่อ พ.ศ.2478 ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆ ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา 2 ชั้น มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่
ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะเป็นช่องขุดลึกลงไปในดิน มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่ง ก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย
เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยุ่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะแต่ตื้นเขิน สันนิษฐานว่าแต่เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก ทางหลวงหมายเลข 115 และ ทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 6
พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท
เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร แท่นสูง 4 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2508 และเสร็จเมือปี พ.ศ. 2513 นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วน และใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกล ทางเข้าวัดอยู่บริเวณเชิงสะพานแม่น้ำน่าน
วัดพระพุทธบาทเขารวก
ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลวังหลุม อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินไปประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีรอยประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี และมี พระอาจารย์โง่น ไสรโย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังจำพรรษาอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธวิโมกข์ปางสมาธิ มอบให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลองที่ทำด้วยไม้ประดู่ใหญ่ที่สุดในโลก และรูปปั้นฤาษีอายุ 1,000 - 1,500 ปี ซึ่งเป็นหินศิลาแลงจากลุ่มแม่น้ำเขิน ภายในวัดยังมีสวนสัตว์ขนาดเล็กซึ่งมีสัตว์หลายชนิดไว้ให้ชมและศีกษาอีกด้วย
วัดโพธิ์ประทับช้าง
วัดโพธิ์ประทับช้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2242-2244 ในสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี(ขุนหลวงสรศักดิ์หรือพระพุทธเจ้าเสือ) พระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ณ สถานที่ประสูติของพระองค์
วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำพิจิตรเก่า หน้าวัดมีต้นตะเคียนซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุราว 260 ปี วัดโดยรอบได้ 7 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 7 คนโอบ ภายในวัดมีพระวิหารสูงใหญ่ มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478 นอกจากนี้ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้สร้างอนุสาวรีย์พระพุทธเจ้าเสือไว้เป็นที่ระลึก ข้างที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างอีกด้วย
การเดินทาง วัดนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 27 กิโลเมตร ไปตามถนนสายพิจิตร - วังจิก(ทางหลวงหมายเลข1068) ประมาณ กม.ที่ 12-13 เลี้ยวแยกซ้ายไปทางอำเภอโพธิ์ประทับช้าง (ทางหลวงหมายเลข 1300) ก่อนถึงตัวอำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงวัดโพธิ์ประทับช้าง
วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำพิจิตรเก่า หน้าวัดมีต้นตะเคียนซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุราว 260 ปี วัดโดยรอบได้ 7 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 7 คนโอบ ภายในวัดมีพระวิหารสูงใหญ่ มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478 นอกจากนี้ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้สร้างอนุสาวรีย์พระพุทธเจ้าเสือไว้เป็นที่ระลึก ข้างที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างอีกด้วย
การเดินทาง วัดนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 27 กิโลเมตร ไปตามถนนสายพิจิตร - วังจิก(ทางหลวงหมายเลข1068) ประมาณ กม.ที่ 12-13 เลี้ยวแยกซ้ายไปทางอำเภอโพธิ์ประทับช้าง (ทางหลวงหมายเลข 1300) ก่อนถึงตัวอำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงวัดโพธิ์ประทับช้าง
วัดนครชุม
ตั้งอยู่บนถนนสายพิจิตร – สามง่าม - วังจิก (ทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 9 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย มีอายุราว 800 ปี ด้านตะวันออกมีพระอุโบสถเก่าแก่มาก ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน เครื่องบนเป็นไม้โดยใช้สลักไม้แทนตะปู มีช่องระบายลมแทนหน้าต่าง พระอุโบสถหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดท่าหลวง ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ลักษณะแบบสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยก่อน
วัดห้วยเขน
ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยเขน อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร ไปตามถนนสายบางมูลนาก - วังงิ้ว ภายในวัดมีโบสถ์เก่าซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพของเก่าโบราณที่ยังไม่มีการตกแต่งเพิ่มเติมใดๆ
วัดหัวดง
ตั้งอยู่หมู่ 7 ตำบลหัวดง ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร - ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2413 ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ. 2468 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อวันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง)แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนิลซึ่งมีอายุประมาณ 20 ปีเศษ หลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักและเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก
บึงสีไฟ
บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง และชมพระอาทิตย์ตก กลางบึ่งสีไฟ ในยามเย็น บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร นอกจากนั้นภายในบึ่งสีไฟยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2527 มีเนื้อที่ 170 ไร่ เป็นสวนพักผ่อนริมบึงสีไฟ มีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่ที่จัดไว้เป็นที่พักย่อน นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารปลาและชมอาทิตย์อัสดง
รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้อยู่ด้านหน้าบึงสีไฟ ที่มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ภายในตัวจระเข้นี้ทำเป็นห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่ง
สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ วันธรรมดาตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. โทร. 0 5661 1309 www.fisheries.go.th/if-phichit
ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ ที่ชาวบ้านผลิตขึ้นเอง เช่น เครื่องสานจากผักตบชวา ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขาวแก้วสี่รส ฯลฯ เปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2527 มีเนื้อที่ 170 ไร่ เป็นสวนพักผ่อนริมบึงสีไฟ มีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่ที่จัดไว้เป็นที่พักย่อน นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารปลาและชมอาทิตย์อัสดง
รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้อยู่ด้านหน้าบึงสีไฟ ที่มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ภายในตัวจระเข้นี้ทำเป็นห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่ง
สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ วันธรรมดาตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. โทร. 0 5661 1309 www.fisheries.go.th/if-phichit
ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ ที่ชาวบ้านผลิตขึ้นเอง เช่น เครื่องสานจากผักตบชวา ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขาวแก้วสี่รส ฯลฯ เปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น
เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา
บ้านเขาพนมพา หมู่ 7 ตำบลหนองพระ เป็นเนินเขาขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเขาลูกโดดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ เป็นเหมืองทองคำเปิดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปซื้อดินที่ถลุงจากเขาพนมพา นำไปร่อนยังสถานที่ที่ทางองค์การบริหารจังหวัดพิจิตรจัดให้ สำหรับนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมกรรมวิธีการร่อนหาทองคำแบบชาวบ้านได้ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร โทร. 0 5661 6376, 0 5661 2854
วัดโรงช้าง
ตั้งอยู่ที่ตำบลโรงช้างทางทิศใต้ของตัวเมือง ติดกับถนนพิจิตร – สามง่าม - วังจิก (ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 5 วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระยาโคตรบองขึ้นครองราชย์ สถานที่แห่งนี้เรียกว่า กองช้าง เพราะเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาได้เรียกกันเพี้ยนไปเป็น คลองช้าง จนกระทั่งทางราชการได้เปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโรงช้าง บริเวณวัดโรงช้างมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่กลางแจ้ง 3 องค์ เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางห้ามญาติ และปางไสยาสน์ สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือเจดีย์องค์ใหญ่ของวัด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 บริเวณรอบองค์เจดีย์มีตู้พระไตรปิฎก จำนวน 108 ตู้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทำบุญใส่ตู้เพื่อเป็นสิริมงคล และภายในองค์เจดีย์ได้สร้างเป็นห้องลับใต้ดินเพื่อใช้สำหรับ เก็บแผ่นอิฐจารึกพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยได้เล็งเห็นว่า ในอนาคตอาจมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่น สงครามนิวเคลียร์ซึ่งอาจทำให้พระไตรปิฏกสูญหายจากโลกได้
ไร่องุ่นดงเจริญ (ไร่องุ่นขจรฟาร์ม)
ตั้งอยู่ที่ ถนนตลิ่งชัน-บึงสามพัน อยู่ห่างจากขจรฟาร์ม (ฟาร์มนกกระจอกเทศ) ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นไร่องุ่นพันธุ์ดี ในพื้นที่ 200 ไร่ พันธุ์ที่มีชื่อเสียงคือพันธ์แบล็คควีน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทิวทัศน์ที่สวยงามของไร่องุ่น ได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกองุ่นทั้งสำหรับทำไวน์ องุ่นทานเป็นผลสดๆ ชมโรงบ่มไวน์ ที่ไร่องุ่นนี้ จะออกผลให้ซื้อทานได้ในช่วง มีค.-เมย. กค-สค. และช่วงที่ออกผลดีที่สุด คือช่วงพย.-ธค. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 5663 3555-6, 0 2673 1153-4, 08 1675 4345
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 ถึงแยกบางมูลนาก-ตากฟ้า-นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 13 กม
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 ถึงแยกบางมูลนาก-ตากฟ้า-นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 13 กม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น