วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเดินทางสู่ จังหวัดพิจิตร

ทางเลือกใน พิจิตร, ประเทศไทย
 จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือ เป็นระยะทางประมาณ 340 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถสามารถเดินทางไปจังหวัดพิจิตรได้ทั้งทางรถยนต์ รถประจำทาง และรถไฟ

โดยรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังจังหวัดพิจิตรทุกวัน วันละหลายเที่ยว
สอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1690 (ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง) หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th และจองตั๋วรถไฟก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 3 วัน ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2220-4444 ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.


โดยรถยนต์
จากกรุงเทพมหานคร สามารถไปได้ 4 เส้นทางด้วยกัน คือ

1. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปต่อจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์-ชุมแสง-บางมูลนาก-ตะพานหิน-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 1118) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ 345 กิโลเมตร

2. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปต่อถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางตากฟ้า-เขาทราย-สากเหล็ก (ทางหลวงหมายเลข 11) และเข้าสู่จังหวัดพิจิตรที่กิ่งอำเภอสากเหล็ก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 111) รวมระยะทางประมาณ 344 กิโลเมตร

3. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปต่อถึงอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี แยกเข้าสู่เส้นทางสายตากฟ้า-เขาทราย (ทางหลวงหมายเลข 11) แยกเข้าเส้นทางเขาทราย-ตะพานหิน (ทางหลวงหมายเลข 113) แยกเข้าเส้นทางตะพานหิน-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 113) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ 338 กิโลเมตร4. จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปต่อถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก (ทางหลวงหมายเลข 117) ถึงอำเภอสามง่าม แยกเข้าเส้นทางสามง่าม-พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 115) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะทางประมาณ 360 กิโลเมตร
โดยรถประจำทาง
มีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-พิจิตร ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว

สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th

ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com
การเดินทางภายใน พิจิตร
ในตัวเมืองพิจิตรมีรถชนิดต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะ ได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย

รถสองแถว มีวิ่งบริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง นักท่องเที่ยวอาจเหมารถสองแถวไปเที่ยวได้ทั้งในเมืองและต่างอำเภอ ราคาวันละ 1,000-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง

รถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย

ระยะทางจากอำเภอเมืองพิจิตรไปยังอำเภอต่างๆ คือ

อำเภอสามง่าม 18 กิโลเมตร

กิ่งอำเภอสากเหล็ก 20 กิโลเมตร

อำเภอโพธิ์ประทับช้าง 25 กิโลเมตร

อำเภอวชิรบารมี 26 กิโลเมตร

อำเภอตะพานหิน 28 กิโลเมตร

อำเภอวังทรายพูน 31 กิโลเมตร

อำเภอทับคล้อ 44 กิโลเมตร

อำเภอบางมูลนาก 50 กิโลเมตร

อำเภอโพทะเล 66 กิโลเมตร

กิ่งอำเภอดงเจริญ 78 กิโลเมตร

กิ่งอำเภอบึงนาราง 86 กิโลเมตร


ประวัติศาสตร์จังหวัดพิจิตร



     "พิจิตร" แปลว่า "งาม" เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตรจึงหมายถึงเมืองงาม เมืองที่มีเสน่ห์ประทับใจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือ "พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8" พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์
      จังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดเก่าแก่มากจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เชื่อกันว่าเจ้ากาญจนกุมาร (พระยาโคตระบอง) โอรสพระยาโคตมเทวราช เป็นผู้สร้างเมือง เหนือฝั่งแม่น้ำน่านในปี พ.ศ. 1601 เดิมมีหลายชื่อ คือ เมืองสระหลวง เมืองโอฆะบุรี เมืองชัยบวรและเมืองปากยม ดินแดนอันเป็นเขตจังหวัดพิจิตรอยู่ในที่ราบลุ่มตอนใต้ของภาคเหนือในดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ลำน้ำยมและลำน้ำน่านไหลผ่าน ลักษณะพิเศษของดินแดนจังหวัดพิจิตรเดิมเต็มไปด้วยห้วย หนอง คลอง บึง พื้นดินจังหวัดพิจิตร เป็นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร เพราะเป็นดินตะกอนที่เกิดจากน้ำท่วมทับถมทุกปีมีปลาชุกชุม
      ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์และแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา เมืองพิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรี มีความสำคัญทางทหารและการปกครองมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนเรื่อง "ไกรทอง" โดยใช้เมืองพิจิตรเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่องราว เนื่องจากเมืองพิจิตร เป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมากมายและมีจระเข้ชุกชุมนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2435 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำรูปแบบการปกครองระบบ เทศภิบาลมาใช้และได้จัดตั้งมณฑลพิษณุโลก เป็นมณฑลแรกประกอบด้วย 5 เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิจิตร

ภูมิประเทศจังหวัดพิจิตร


ที่ตั้งอาณาเขต

      จังหวัด พิจิตรอยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา 50 ลิปดา กับ 16 องศา และเส้นแวงที่ 99 องศา กับ 150 องศา 45 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,831,883 ไร่ มีความกว้างประมาณ 72 กิโลเมตร ความยาวประมาณ 77 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 346 กิโลเมตร และรถไฟระยะทางประมาณ 351 กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือ                    ติดต่อกับอำเภอบางระกำ และอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้                        ติดต่อกับอำเภอชุมแสง และอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก               ติดต่อกับอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูณ์
ทิศตะวันตก                 ติดต่อกับอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

การปกครอง

       จังหวัด พิจิตรแบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอสามง่าม อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ อำเภอสากเหล็ก อำเภอดงเจริญ และอำเภอบึงนาง

ลักษณะภูมิประเทศ

      โดย ทั่วไปของจังหวัดพิจิตรเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำยม และแม่น้ำน่านไหลผ่าน ทั้ง 2 สายไหลผ่านจังหวัดเกือบเป็นลักษณะเส้นขนานจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ โดยมีแม่น้ำพิจิตร(แม่น้ำเดิม) อยู่ระหว่างกลาง ความยาวของแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านจังหวัดมีระยะทาง 97 กิโลเมตร และความยาวของแม่น้ำยมที่ไหลผ่านจังหวัดมีระยะประมาณ 128 กิโลเมตร
       แหล่งน้ำธรรมชาติ จังหวัดพิจิครมีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน 3 สายได้แก่
       1.  แม่น้ำน่าน มีต้นน้ำจากดอยภูแวในทิวเขาหลวงพระบาง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอปัว จังหวัดน่าน แม่น้ำน่านไหลผ่านที่ตั้งตัวจังหวัดพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก และลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ มีความยาวทั้งสิ้น 97 กิโลเมตร มีพื้นที่ในลุ่มน้ำน่านประมาณ 2,602 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,626,250 ไร่
       2.  แม่ย้ำยม  มีต้นกำเนิดในขุนยวมทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอปง จังหวัดเชียงราย แม่น้ำยมไหลผ่านเข้าจังหวัดพิจิตรที่อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอโพทะเล โดยไหลไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่บ้านเกยชัย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีความยาวทั้งสิ้น 124 กิโลเมตร มีพื้นที่ในลุ่มน้ำน่านประมาณ 2,046 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,278,750 ไร่
     3.  แม่น้ำพิจิตร คือทางเดินเก่าของแม่น้ำน่าน ต้นกำเนิดของแม่น้ำพิจิตรนั้นไหลแยกจากแม่น้ำน่านที่บ้านวังกระดี่ทอง ในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตร มีทิศทางการไหลของน้ำอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ สภาพลำน้ำคดเคี้ยว บางแห่งร่องน้ำตื้นเขินและแห้งในฤดูแล้ง เนื่องจากมีฝ่ายกั้นน้ำไว้เป็นช่วงๆ เพื่อสูบขึ้นมาใช้ทำสวนผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะส้มโอในเขตโพธิ์ประทับช้าง
      การประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นภาคการผลิตหลัก รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรม การค้าส่ง การค้าปลีก และการบริการ ผลผลิตสำคัญได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเขียว และการประมง


ตราประจำจังหวัดพิจิตร



ตราประจำจังหวัดประกอบด้วยสระและต้นโพธิ์
               
                 สระ  หมายถึง  เมืองสระหลวง  ซึ่งเป็นชื่อเดิมของจังหวัด  ตามพงศาวดารเหนือ  กล่าวว่าเมืองนี้เป็นเมืองโบราณสมัยขอมและเป็นหัวเมืองเอกตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีพญาโคตระบองเป็นผู้สร้างเมือง               
                 ต้นโพธิ์  หมายถึง  วัดโพธิ์ประทับช้าง  ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือหรือขุนหลวงสรศักดิ์  ระหว่างครองกรุงศรีอยุธยานั้นพระองค์ได้เสด็จมาคล้องช้างเมืองพิจิตรเลยไปเยี่ยมมาตุภูมิเดิมที่หมู่บ้านโพธิ์ประทับช้าง  โปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างพระอารามขึ้นที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง
     จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ความกว้างจากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกประมาณ 72 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 12อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสามง่าม อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ อำเภอวชิรบารมี อำเภอสากเหล็ก อำเภอดงเจริญ และอำเภอบึงนาราง

เทศกาลงานประเพณีเมืองพิจิตร



  การแข่งขันเรือยาวประเพณี
         
           จัดเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และจัดมานานแล้ว มีเรือเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด เนื่องจากจังหวัดพิจิตรมีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกทั้งมีน้ำไหลหลากเป็นประจุกปีตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน วัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำและมีเรือประจำวัด จะจัดให้มีการแข่งขันเรือยาวพร้อมจัดงานปิดทองไหว้พระไปด้วย เรือที่จัดให้มีการแข่งขัน ได้แก่ เรือยาวที่มีขนาดฝีพายต่างๆ เรือบด เรือหมู เรืออีโปง เรือเผ่นม้า ฯลฯ บางวัดจดงานแข่งเรือฉลององค์กฐินประจำปีไปด้วย

            จังหวัดพิจิตรมีงานประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดแข่งขันในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน เป็นประจำทุกปี โดยจัดที่วัดท่าหลวง พระอารามหลวง อำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้

            การแข่งขันเรือยาวประเพณีของวัดท่าหลวงฯ เริ่มจัดเมื่อประมาณ พ.ศ.2450 โดยพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงฯ และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตรเป็นผู้ริเริ่มแล้วได้จัดติดต่อกันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยของพระฑีฆทัสสีมุนีวงศ์ (ไป๋ นาควิจิตร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงและเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร จึงได้กำหนดจัดงานแข่งขันเรือยาวตามวันทางจันทรคติ ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ต่อมาน้ำในแม่น้ำน่านแห้งเร็วไม่เหมาะต่อการแข่งเรือ จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับช่วงงานปิดทองไหว้พระนมัสการหลวงพ่อเพชร

            เดิมกรรมการวัดเป็นผู้จัดทำรางวัลการแข่งขัน ส่วนใหญ่เป็นของอุปโภคบริโภค เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ผ้าขาวม้า น้ำมันก๊าด ส่วนรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศจะได้ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรไปครอง ซึ่งถือว่าเป็นศิริมงคลกันเรือและเทือกเรือ (ฝีพาย) โดยนำไปพันไว้ที่โขนเรือของตน ภายหลังคณะกรรมการพิจารณาว่า ผ้าห่มหลวงพ่อเพชรเป็นของสูงการนำผ้าไปพันบนโขนเรือไม่เหมาะสมจึงยกเลิก แล้วจัดธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรไปเป็นรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศแทน ต่อมาก็ทำธงมอบให้แก่เรือที่ร่วมเข้าแข่งขันทุกลำ

            การแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตรที่จัด ณ วัดท่าหลวงฯ ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ คือ เพิ่มวันแข่งขันจากหนึ่งวันมาเป็นสองวัน จัดให้มีการแข่งขันเรือยาว 2 ขนาดคือเรือยาวใหญ่และเรือยาวเล็ก      ต่อมาได้ขยายวันแข่งขันเป็น 3 วัน เนื่องจากมีเรือเข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้นและได้เพิ่มขนาดของเรือแข่งเป็น 3 ขนาด ได้แก่ เรือยาวใหญ่ (ฝีพายไม่เกิน 55 คน) เรือยาวกลาง (ฝีพายไม่เกิน 40 คน) และเรือยาวเล็ก (ฝีพายไม่เกิน 30 คน) และเพิ่มเป็น 2 ประเภท คือ ประเภท ก (ฝีพายจัด) ประเภท ข (เป็นเรือชุดใหม่ หรือเรือฝีพายปานกลาง)        ปัจจุบันได้เปลี่ยนวันแข่งขันจากวันทางจันทรคติ มาเป็นทางสุริยคติ โดยกำหนดจัดแข่งขัน ในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายนทุกปี

            ในวันเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีจะจัดให้มีขบวนพาเหรดเรือของแต่ละอำเภอประเภทต่างๆ ได้แก่ เรือประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทตลกขบขัน และยังมีการประกวดกองเชียร์ของเรือแต่ละลำด้วย กลางคืนจะจัดให้มีมหรสพให้ชมฟรี

            ใน พ.ศ.2524 จังหวัดร่วมกับพ่อค้าประชาชน วัดท่าหลวงฯ และองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศ นับว่าเป็นถ้วยพระราชทานแห่งเดียวและแห่งแรกในขณะนั้น โดยกำหนดว่าหากเรือลำใด ครองถ้วยพระราชทานติดต่อกัน ครบ 3 ครั้ง จะได้รับถ้วยนั้นไปครอง ปัจจุบันการแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร ได้เปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันมาเป็นเชิงธุรกิจมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยจังหวัดร่วมกันสมาคมส่งเสริมกีฬาจังหวัดพิจิตร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตรและองค์กรต่าง ๆ

            แนวทางการจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดพิจิตร มีดังนี้

            1. สนามแข่งขัน จัดแข่งขัน ณ แม่น้ำน่านหน้าวัดท่าหลวงพระอารามหลวง อำเภอเมืองพิจิตร ระยะทางการแข่งขัน 650 เมตร จัดแข่งขันโดยแบ่งร่องน้ำออกเป็น 2 ลู่ และทุกระยะทาง 220 เมตร จะมีธงสัญญาณกำหนดลู่ร่องน้ำ รวม 3 จุด การปล่อยเรือออกจากทุ่น จะถือเอาปลายสุดของโขนเรือเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องให้ได้แนวเท่ากัน และประมาณ 3 เมตร ปักอยู่ตรงฝั่งกรรมการจะมีเชือกสีที่เห็นได้ชัดทิ้งดิ่งให้ได้ฉากกับเสาที่อยู่ตรงข้ามเชือกนี้จะต้องตรึงให้อยู่กับที่          และใช้กล้องวีดิทัศน์จับภาพการเข้าเส้นชัยทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสิน ในกรณีที่สูสีกันมาก ๆ

            2. ลักษณะของเรือยาว จะต้องเป็นเรือขุดจากไม้ทั้งต้น ความยาวไม่จำกัด แต่จะจำกัดจำนวนฝีพายที่จะลงแข่งขันในประเภทนั้น ๆ และผู้เข้าแข่งขันจะต้องเตรียมเรือ ใบพายตลอดจนเทือกเรือ (ฝีพาย) มาเอง

            3. ขนาดเรือ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด โดยกำหนดจำนวนฝีพายเป็นเกณฑ์ ดังนี้
                  เรือยาวใหญ่              ฝีพายไม่เกิน        55         ฝีพาย
                  เรือยาวกลาง              ฝีพายไม่เกิน        40         ฝีพาย
                  เรือยาวเล็ก                ฝีพายไม่เกิน        30         ฝีพาย
                 ในแต่ละประเภทและขนาดจะจับฉลากพบกัน แข่งขันแบบหาผู้ชนะเข้ารอบสอง แล้วจะจัดให้เรือที่ชนะในรอบแรกเป็นเรือประเภท ก และเรือที่แพ้จะจัดให้อยู่ในเรือประเภท ข แล้วแข่งขันในประเภทของตนเองจนจบการแข่งขัน และได้เรือที่ชนะเลิศ

            4. การสมัครเข้าแข่งขัน เรือทุกลำจะสมัครได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น และจะต้องจับฉลากประกบเรือตามวันและเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

            5. การเปรียบเรือ  ผู้แทนหรือผู้คุมเรือจะต้องจบฉลากประกบคู่เรือ และสายน้ำ ตามวันและเวลาที่คณะกรรมการกำหนดเปรียบเรือ

            6. จำนวนผู้ร่วมแข่งขัน เรือแต่ละลำจะส่งจำนวนฝีพายเข้าสมัครแข่งขันเท่าไรก็ได้ แต่เวลาลงเรือต้องเป็นไปตามที่กำหนดขนาดประเภทเรือ และในการพายแต่ละคู่สามารถเปลี่ยนตัวได้ตลอด

            7. ข่งขัผลการแน กำหนดแข่งขัน 2 เที่ยว โดยเปลี่ยนร่องน้ำทุกครั้ง หากผลชนะกันคนละเที่ยว จะจับสลากสายน้ำใหม่เพื่อแข่งขันในเที่ยวที่ 3 ถ้าผลออกมาเสมอกันอีกจะใช้วิธีการจับสลาก (กติกาการแข่งขันขึ้นอยู่กับคณะกรรมการแข่งขันจะกรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมแก่เรือเข้าร่วมแข่งขันทุกลำ)

            เรือที่เคยได้รับถ้วยพระราชทานไปครองเป็นกรรมสิทธิ์ เนื่องจากชนะเลิศ 3 ปี ติดต่อกันมีดังนี้

            เรือเทพนรสิงห์ 88 ประเภทเรือยาวใหญ่ จากวัดเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ชนะเลิศ ระหว่าง พ.ศ.2534 – 2536
            เรือประกายเพชร ประเภทเรือยาวกลาง จากวัดวังจิก   อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ชนะเลิศ ระหว่าง พ.ศ.2524 - 2526

            เรือเพชรชมพู ประเภทเรือยาวกลาง จากวัดบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ชนะเลิศ ระหว่าง พ.ศ.2529 – 2531

            เรือเลิศลอยฟ้า ประเภทเรือยาวเล็ก จากวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ชนะเลิศ ระหว่าง พ.ศ.2524 – 2527

            เรือเทพนครชัย ประเภทเรือยาวเล็ก จากวัดประชานาท อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ชนะเลิศ ระหว่าง พ.ศ.2531 – 2533




   งานประเพณีกำฟ้า

            งานประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งของลาวพวนบ้านป่าแดง อำเภอตะพานหิน ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการบูชาหรือเคารพเทวดาฟ้าดิน เชื่อกันว่าเมื่อได้ทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีบูชาขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟ้าแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เชื่อกันว่าเสียงฟ้าร้องคือ “สัญญาณฟ้าเปิดประตูน้ำ” เพื่อให้ชาวนา ชาวไร่ มีน้ำประกอบอาชีพเกษตรกรรม การพยากรณ์เสียงฟ้าร้องของลาวพวนมีดังนี้

            เสียงฟ้าร้องมาจากทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พยากรณ์ว่าฝนจะดีมีน้ำเพียงพอ พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ ประชาชนจะมั่งมีศรีสุข ถ้าฟ้าร้องดังมาจากทิศใต้ ฝนจะตกน้อย เกิดความแห้งแล้งพืชผลได้รับความเสียหาย ถ้าฟ้าร้องเสียงดังมาจากทิศตะวันออก ฝนจะตกปานกลาง พืชในที่ลุ่มได้ผลดี พืชในที่ดอนจะเสียหาย ถ้าเสียงฟ้าร้องมาจากทิศตะวันตกจะเกิดความแห้งแล้งข้าวยากหมากแพงจะรบพุ่งฆ่าฟันกัน

            การกำหนดวันกำฟ้า

            ประเพณีกำฟ้า ของลาวพวนบ้านป่าแดง กำหนดวันงาน 2 วัน คือวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำต้อน และวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้า

            วันกำต้อน  (ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3) เป็นวันเตรียมการก่อนวันงาน 1 วัน ทุกคนจะหยุดทำงาน กลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนของตน ตั้งศาลพระภูมิบายศรีของพรจากเทพยดาช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลตามคำที่กล่าวว่า “ฝนบ่ละเดือนสาม ฝนบ่หามเดือนสี่ละแท้ ๆ คือเดือนยี่เดือนเดียว”   ชาวพวนจะจัดเตรียมอาหารหวานคาว ข้าวปุ้น (ขนมจีน) เผาข้าวหลาม ไว้ทำบุญในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันกำฟ้า และจัดไว้เลี้ยงดูแลญาติพี่น้องตลอดจนแขกที่มาเยือนตอนค่ำจะเป็นการเริ่มกำ หมายถึงทุกคนต้องหยุดงานดังคำกล่าวที่ว่า “ครกบ่เห้อต้องน้องบ่เห้อตำ”   กลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหมากเบี้ย ต่อไก่ ลูกช่วง รำแคน โดยออกไปเล่นตามคุ้มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

            วันกำฟ้า   (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3) เป็นวันงาน ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตรสู่ขวัญข้าว ตอนกลางวันแสดงการละเล่นพื้นบ้าน    เช่น    นางกวัก นางดัง นางสาก ถ่อเส้า ขี่ม้าหลังโปะ ไม้อื้อ มอญซ่อนผ้า ตอนเย็นจะนำข้าวปลาอาหารมาร่วมรับประทานกัน ตอนกลางคืนจะเล่นเตะหมากเบี้ย ลูกช่วง ต่อไก่ รำแคน มอญซ่อนผ้า

            ปัจจุบันหน่วยงานทางราชการและพ่อค้าประชาชนสนับสนุนส่งเสริมให้อนุรักษ์งานกำฟ้าเป็นงานประเพณีพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำหมู่บ้านของลาวพวน จนกระทั้งงานกำฟ้าบ้านป่าแดงได้รับการจัดให้เป็นประเพณีสำคัญ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของอำเภอตะพานหิน




งานประเพณีแห่เจ้าพ่อแก้ว

            การจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อแก้วมีมานานประมาณ 80 – 90 ปี เดิมจัดกันที่บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อริมแม่น้ำน่าน เพราะมีบริเวณหาดริมแม่น้ำกว้างพอที่จะตั้งโรงงิ้วได้ ต่อมาน้ำเซาะเข้ามามากจึงย้ายไปจัดที่บริเวณโรงเรียนโถงจื้อ เดิมมีมหรสพเพียงงิ้วแต้จิ๋ว 1 โรง และงิ้วไหหลำ 1 โรง และขบวนแห่งิ้วก็มีเพียงล่อโก๊ว กับขบวนสาวงามแห่เปีย (ธง) รอบตลาดเท่านั้น ราว 30 ปีต่อมาได้จัดให้มีมหรสพต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น ลิเก ภาพยนตร์ จนบริเวณที่จัดเดิมคับแคบลง ใน พ.ศ.2501 นายวิเชียร นันทพิบูลย์ นายกยุวพุทธิกสมาคมบางมูลนาก ซึ่งเป็นประธานกรรมการจัดงาน ได้ย้ายไปจัดงานในบริเวณสนามหน้าที่ทำการเทศบาลเมืองบางมูลนาก ซึ่งกว้างขวางกว่าและได้จัดงาน ณ ที่นี้เรื่อยมาตราบจนกระทั่งบัดนี้
            ใน พ.ศ.2509 นายแพทย์พยุง กลันทกพันธุ์ (คุณหมอแดง) ขณะดำรงตำแหน่งนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางมูลนาก เป็นประธานกรรมการจัดงาน ได้เริ่มจัดงานในรูปแบบประสมประสานมหรสพต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้งานครึกครื้นยิ่งขึ้น คือนอกจากจะมีงิ้วแต้จิ๋วและงิ้วไหหลำอย่างละ 1 โรงแล้ว ยังมีภาพยนตร์ ลิเก ลำตัด รำวง ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน และในปีนี้ เจ้าพ่อแก้วได้มาประทับทรงเด็กหญิงผู้หนึ่งสามารถพูดภาษาจีนได้คล่องด้วยสำเนียงของชายชรา เจ้าพ่อแก้วเล่าถึงประวัติความเป็นมาต่าง ๆ ให้คนในตลาดฟังและสิ่งหนึ่งที่เจ้าพ่อมีความประสงค์ก็คือ ขอให้ชาวตลาดจัดงานวันเกิดให้ท่านด้วยโดยกำหนดหลังวันจากวันตรุษจีนไปแล้ว 12 วัน ซึ่งก็จะตกราว ๆ ปลายเดือนมกราคมหรือต้
นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ตั้งแต่นั้นมาคณะกรรมการจัดงานจึงได้จัดงาน “วันเกิดเจ้าพ่อแก้ว” อีก 3 วัน 3 คืน เมื่อแรกที่จัดนั้นจัดงานเลี้ยงโต๊ะจีน 10 – 20 โต๊ะ แต่ต่อมาด้วยความเสื่อมใสของผู้คนในตลาดที่มีต่อเจ้าพ่อ ต่างพากันมาจองโต๊ะกินเลี้ยงมาเกือบ 200 โต๊ะ ส่วนมหรสพนั้นมีไม่มีมากเหมือนงานประจำปี แต่ยืนพื้นก็คือ งิ้ว ภาพยนตร์ และลิเก
            แม้ว่า “เจ้าพ่อแก้ว” จะเป็นเทพเจ้าที่เคารพสักการะของชาวจีน แต่คนในท้องถิ่นก็ยอมรับนับถือเป็นการผสมผสานกันในด้านของวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน การนับถือเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมีในมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา เพราะมนุษย์มีอะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจสักอย่างหนึ่งแล้ว จะทำให้เขามีความอบอุ่นใจ และเกิดความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น คนไทยแม้จะนับถือพระพุทธศาสนา มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว ก็ยังมีศาลพระภูมิไว้กราบไหว้บูชาประจำบ้านเรือนอีกด้วย ชาวเขาทุกเผ่าในไทยล้วนนับถือ “ผี” กันทั้งนั้น คนจีนก็เช่นเดียวกับคนไทย นอกจากจะมีพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแล้วยังมี “ตี่จู้” ประจำบ้านเรือน ถือเป็นศาลพระภูมิหรือเจ้าที่เจ้าทางอย่างของคนไทย และที่จะขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกชุมชนที่เขาเข้าไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน จะต้องมีศาลเจ้า “ปุงเท่ากง” หรือ “บุนเถ้ากง” ไว้ เพื่อสักการบูชา อันจะทำให้เขามีความร่มเย็นเป็นสุขและทำมาหากินร่ำรวย
         
            การสักการะ “เจ้า” มีการเซ่นไหว้ด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน และของกินที่เรียก “โหงวแซ”   (เครื่องสังเวย 5 อย่าง อันได้แก่ หมู เป็ด ไก่ ปลา ผลไม้) หรือผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล นั้นก็คือการแสดงความคารวะนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ อันการเคารพนพไหว้ต่อบุคคลอื่นที่ควรเคารพ เช่น เทพยดาอารักษ์ก็ดี ท้าวพญามหากษัตริย์ก็ดี    ผู้มีอำนาจเป็นเจ้าเป็นใหญ่ก็ดี     ตลอดจนวิญญาณของบรรพบุรุษก็ดี ล้วนเป็นสิ่งดีงาม เป็นมงคล ทั้งสิ้น
         
            ด้วยธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่เหมือนกันเช่นนี้ ทั้งในด้านการมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และกตัญญูกตเวที คนไทยและคนจีนจึงอยู่ด้วยกันได้อย่างสนิทสนมกลมเกลียว งานประเพณีเจ้าพ่อแก้ว จึงนับเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจของคนจีนและคนไทยให้รักกันอย่างแน่นเฟ้นเป็นอย่างยิ่ง มิได้เป็นข้อผิดแผกแตกต่างให้อยู่คนละพวกคนละหมู่แต่อย่างใดเลย คำกล่าวที่ว่า “คนจีนกับคนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” จะเห็นได้ชัดเจนในงานประจำปี “เจ้าพ่อแก้ว”
           
             การดำเนินการจัดงานเจ้าพ่อแก้วนั้นจะทำให้รูปคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากองค์เจ้าพ่อแก้วและจะอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 1 ปีเต็มคือ ตั้งแต่ 1 มกราคม ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ศกเดียวกัน วิธีการคัดเลือกกรรมการ หรือ “เท่านั้ง” นี้ จะกระทำกันที่ศาลเจ้าชั่วคราว บริเวณที่จัดงานวันเกิดเจ้าพ่อ และจะจัดคัดเลือกในวันกินเลี้ยง หรือ “กินโต๊ะเจ้า” นั้นเอง วิธีการคัดเลือกจะกระทำดังนี้ คือ มีเจ้าหน้าที่เขียนชื่อบุคคลจับวางไว้ในจานทีละชื่อเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งจะเสี่ยงทายด้วยไม้ “ปัวะปวย” ซึ่งเป็นไม้สองอันประกบกัน มีลักษณะคล้ายเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ผ่าซีกแต่ใหญ่กว่า วิธีเสี่ยงทายจะทำถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกและครั้งที่สอง เมื่อโยนแล้วไท้จะต้องคว่ำอันหงายอัน ครั้งที่สาม เมื่อโยนแล้ว ไม้จะต้องคว่ำทั้งคู่บุคคลผู้นั้นถึงจะได้เป็น “เท่านั้ง” เท่านั้งนี้เป็นได้ทั้งชายและหญิง ถ้าเสี่ยงทายไม่เป็นไปตามนี้ ผู้นั้นก็หมดสิทธิ์ที่จะได้เป็น ต้องจับฉลากชื่อคนอื่นต่อไป จนกระทั่งได้ครบ 20 คน แล้วพอ เท่านั้งทั้ง 20 คนนี้จะไม่มีสิทธิ์ได้รับจับชื่อเสี่ยงทายติดต่อกันไปนาน 3 ปี พ้น 3 ปีแล้วจึงจะมีสิทธิ์ได้รับเลือกใหม่ “เท่านั้ง”   ถือกันว่าเป็นผู้ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพ่อแก้วให้เป็นเจ้าภาพจัดงานให้ท่านได้ ผู้ได้รับการคัดเลือกถือว่าเป็นผู้มีบารมีและเป็นเกียรติยศอย่างสูงบางคนแม้จะร่ำรวยมีฐานะดี แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับตำแหน่งนี้เลยจนตลอดชีวิต
           
             จากนั้น เท่านั้งทั้ง 20 คนจะเลือกประธานกรรมการคนหนึ่ง และจะแบ่งหน้าที่กันไปทำตามความถนัดและความเหมาะสมต่อไป เท่านั้งที่คัดเลือกไว้จะเริ่มบทบาทหรือรับช่วงดำเนินการจัดงานในปีถัดไป เป็นการคัดเลือกไว้ล่วงหน้าถึง 1 ปี
         
             แต่ก่อนนั้นไม่ใคร่มีใครรับเป็นเท่านั้ง เพราะเหตุว่าเป็นกรรมการหรือเท่านั้งจะต้องรับภาระและเหน็ดเหนื่อยมาก รวมทั้งจะต้องมีเงินใช้จ่ายมากด้วย เนื่องจากแต่ก่อนการจัดงานประสบกับการขาดทุนอยู่เสมอ เพิ่งจะมามีกำไรระยะหลัง ๆ นี้ และเป็นที่น่าสังเกตว่าคนที่เคยเป็นเท่านั้งในภายหลังจะประสบแต่ความสุขความเจริญ ทำมาค้าขึ้น มีฐานะร่ำรวย ต่อมาหลายคนอยากเป็นเท่านั้ง หากเมื่อใช้วิธีเสี่ยงไม้ “ปัวะปวย” ดังกล่าว จึงไม่มีปัญหา
          
  พิธีแห่เจ้าพ่อแก้ว

            จะจัดขึ้นในงานวันที่สอง ซึ่งมักจะเป็นวันเสาร์ และเป็นวันเชิญเจ้าพ่อออกจากศาลมาสู่ศาลชั่วคราวที่สนามหน้าโรงงิ้ว  “ผู้รู้” คืออาแป๊ะหยูจะเป็นผู้หาฤกษ์ยามให้ เล่ากันว่าเคยมีผู้ฝืนฤกษ์ ทำให้เกิดไฟไหม้ตลาด จึงเป็นเรื่องที่ถือกันมากในเรื่องนี้ เมื่อได้ฤกษ์จะมีพิธีการจุดธูป จุดประทัดบูชาเจ้าพ่อ แล้วบอกกล่าวอัญเชิญ จากนั้นก็จะอุ้งองค์เจ้าพ่อขึ้นประทับยังเกี้ยว บรรดาผู้หามเกี้ยวก็จะวิ่งพาเกี้ยวออกจากศาล แล้วแห่ไปตามถนนสายต่างๆ พร้อมขบวนแห่ซึ่งมีล่อโก๊ว สิงโต เองกอ ติดตามด้วยขบวนแห่เปีย (ธง) ของสาวงามวัยแรกรุ่นแต่งกายอย่างสวยงาม เป็นการประกวดประขันกันไปในตัว นอกจากนี้ยังมีขบวนหาบกระเช้าของเด็กเล็กวัยอนุบาลซึ่งแต่งตัวอย่างน่ารักน่าเอ็นดู พร้อมกันนี้ก็ยังมีขบวนฟ้อนรำ หรือกิจกรรมเข้าจังหวะของนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลประมาณ 5 – 6 โรง เข้าร่วมขบวนแห่ด้วยทุกปี
         
             ขบวนหามเกี้ยวเจ้าพ่อผ่านไปถึงหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะออกมาจุดธูปบูชากลิ่นไม้จันทร์และควันธูปจะหอมฟุ้งตลบอบอวนไปทั่ว เสียงประทัดจะดังรัวอยู่มิได้ขาด ขบวนฟ้อนรำของนักเรียนจะหยุดแสดงให้ชมเป็นระยะ ตามสี่แยกหรือจุดที่สำคัญ  ส่วนขบวนสิงโต ล่อโก๊ว ก็จะรัวฆ้อง กลอง ด้วยจังหวะที่เร้าใจ เข้าร้านโน้นออกร้านนี้ พร้อมกับรับ “อั้งเปา” มากบ้างน้อยบ้างติดมือเป็นรางวัล เพราะเขาถือว่าขบวนเหล่านี้เชิญเซียนหรือเทวดาเข้าบ้านนำสิริมงคลและความสวัสดีมีชัยมาให้ ทุกบ้านจึงมีแก่ใจต้อนรับไม่รังเกียจ ขบวนแห่เจ้าพ่อจะแห่ตั้งแต่เช้าเข้าไปยังตรอก ซอกซอยและถนนเกือบจะทั้งตลาด จนเกือบประมาณพบค่ำก็เป็นเวลาได้ฤกษ์ถึงศาลชั่วคราว เมื่อจะเชิญเจ้าพ่อเข้าประทับยังศาล ล่อโก๊ว สิงโต เองกอ ก็จะบรรเลงและแสดงถวายเจ้าพ่ออย่างเอิกเกริก พร้อมกับเสียงประทัดก็ดังรัวขึ้นอย่างหูดับตับไหม้อีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จพิธีแห่เจ้าพ่อแต่เพียงนี้ รวมเวลาแล้วตลอดทั้งวัน ผู้เข้าร่วมแห่จะทั้งสนุกสนาน ทั้งเหน็ดเหนื่อยไปตามๆ กัน แต่ทุกคนก็อิ่มใจ ภูมิใจ และสุขใจ
         
             เวลากลางคืนมีมหรสพให้ชมฟรี และเกมสนุกที่ต้องควักเงินจ่ายเป็นค่าบริการ เช่น ม้าหมุน ชิงช้าสวรรค์ รถซิ่ง ยิงเป้า แสดงประชันกันทั้งแสงและเสียง ใครใคร่ซื้อสินค้าอะไรจะรับประทานอะไรก็เลือกซื้อได้ตามอัธยาศัย ทางด้านศาลเจ้านั้น บรรดาเท่านั้งก็จะเริ่มประมูลของ ส่งเสียงประกาศแข่งกับเสียงงิ้วเป็นที่สนุกครึกครื้น
        
              การประมูลของนั้นจะจัดทำในวันที่สองของงาน ทั้งงานประจำปีและงานวันเกิด คณะกรรมการจะนำสิ่งของที่มีผู้บริจาคถวายเจ้าพ่อ ทั้งของกินของใช้ออกมาประมูล ของกินได้แก่ ขนม ผลไม้ มีส้มและแอปเปิ้ล รวมทั้งสุราต่างประเทศ ของใช้ก็มีพัดลม วิทยุ โทรทัศน์ นาฬิกา และอื่นๆ อีกจิปาถะ บรรดาเจ้าของร้านค้าในตลาดจะเป็นผู้มาประมูลของ สิ่งของเหล่านี้หากมีผู้เสนอราคาขึ้น ถ้ากรรมการนับ 1 – 3 แล้ว ไม่มีใครให้ราคาที่สูงกว่า ก็จะลั่นฆ้องขึ้น 3 ครั้ง เป็นอันว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ของไป สิ่งของที่มีผู้ประมูลให้ราคามากกว่าสิ่งของใด ๆ ก็คือ “ทีตี่เต็ง” หรือ “ทีตี่แป่ป้อ” คือ “ตะเกียงฟ้าตะเกียงดิน” ลักษณะเป็นลำไม้ไผ่ตรง สูงประดับด้วยโคมไฟระย้าบนยอด ในแต่ละปีจะมีผู้ประมูลได้ในราคาไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท บางปีจะประมูลในราคาที่สูงถึง 200,000 บาท เหตุที่มีผู้ให้ความสำคัญต่อ “ทีตี่เต็ง” มากเช่นนี้ก็เพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ “ทีตี่เต็ง” ไปประดับหรือบูชาที่บ้าน จะทำให้ทำมาค้าขึ้น มีโชคดีประสบแต่ความสุขความเจริญ ในแต่ละปีนั้นจะได้เงินมาจากการประมูลสิ่งของเป็นกอบเป็นกำนับเป็นเงินหลายล้านบาท การประมูลของนี้จะกระทำไปจนถึงคืนสุดท้ายของงาน ตราบจนได้ฤกษ์เชิญเจ้าพ่อไปประดิษฐานยังศาลเดิม ซึ่งก็จะเป็นเที่ยงคืนไปแล้วของทุกปี
        
              มีการถือเคล็ดอยู่อย่างหนึ่งว่า เมื่อจะเชิญเจ้าพ่อกลับนั้น จะต้องเปลี่ยนเส้นทางจากตอนที่เชิญมา และจะต้องหามเกี้ยววิ่งออกเช่นเดียวกันเมื่อตอนขามา ตอนที่เชิญเข้าสู่ศาลถาวรก็จะต้องโห่ให้กึกก้องด้วย ความเชื่ออย่างหนึ่งที่เล่ากันสืบทอดมาจากเมืองจีน คือ ครั้งหนึ่งผู้คนพากันน้อยใจและโกรธแค้นที่เจ้าไม่ช่วยดลบันดาลให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำให้ผู้คนพากันอดอยากยากจนติดต่อกันมาหลายปี เมื่อถึงเทศกาลไหว้เจ้า ก็พาเจ้าออกแห่ แต่แห่ด้วยอาการไม่เรียบร้อยเช่นเคย มีการกระแทกกระทั้นเพื่อให้เจ้าได้รับรู้ว่าผู้คนเกิดความไม่พอใจ ปรากฏว่าปีนั้นฟ้าฝนเกิดตกต้องตามฤดูกาล ผู้คนก็ทำมาหากินเพราะปลูกได้ตามปกติอยู่กันเป็นสุขสืบมา อีกกระแสหนึ่งสาเหตุที่ต้องหามเกี้ยวเจ้าพ่อแก้ววิ่งออกจากศาลและวิ่งกลับศาลนั้น นายแก้ว แสงอินทร์ เจ้าพิธีการสำคัญคนหนึ่งผู้มีความเคารพเลื่อมใสในองค์เจ้าพ่ออย่างแนบแน่นสืบมาแต่รุ่นบิดาได้ให้เหตุผลว่า  การที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพื่อเพิ่มพลังหรืออิทธิฤทธิ์ให้เกิดขึ้นในองค์เจ้าพ่อ การที่หามเกี้ยวเจ้าพ่อด้วยท่าทางเรียบ ๆ เชื่อง ๆ เงื่องหงอยนั้น ทำให้ดูไม่ขลัง ไม่ศักดิ์สิทธิ์
           
            อภินิหารเจ้าพ่อแก้ว มีเล่าสืบกันมาหลายเรื่อง กล่าวคือ

            เรื่องที่ 1 ล๊อตเตอรี่เจ้าพ่อที่ผู้ประมูล “ทีตี่เต็ง” จะต้องได้ไปด้วยนั้น แทบทุกรายจะถูกรางวัลใหญ่ ไม่รางวัลใดก็รางวัลหนึ่ง และผู้ที่โชคดีก็มักจะนำเงินรางวัลที่ได้มาถวายเจ้าพ่อกลับคืน เพื่อเป็นทุนจัดงานสืบต่อกันไป

            เรื่องที่ 2 ในงานวันเกิดเจ้าพ่อ นอกจากจะมีการเสี่ยงทายเลือก “เท่านั้ง” แล้วก่อนเชิญกลับศาล ก็จะมีการเสี่ยงไม้ “ปัวะปวย” ถามเรื่อง 3 เรื่องทุกครั้ง คือ 1.ชาวตลาดบางมูลนากจะอยู่เย็นเป็นสุขหรือไม่ 2.การค้าขายจะดีหรือไม่ 3.ข้าวปลาจะได้ผลดีไหมถ้าท่านทักข้อใดเหตุการณ์ก็มักจะเป็นไปตามนั้น

            เรื่องที่ 3 ได้เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ในตลาดบางมูลนาก เมื่อ พ.ศ.2484 ก่อนจะเกิดเหตุขึ้นนั้น ในวันรุ่งขึ้นหลังจากเสร็จงานประจำปีแล้ว เวลาประมาณ 9 นาฬิกา เจ้าพ่อได้ไปเข้าทรงหญิงสาวคนหนึ่งทางฝั่งวัดบางมูลนาก ร่างทรงได้พูดเป็นสำเนียงชายชรา แต่เป็นภาษาไทยว่าให้ไปตามเจ๊กห้อยฝั่งตลาดมาพบ ซึ่งก็ไม่มีใครรู้จักคนชื่อนี้ เจ้าพ่อจึงกล่าวว่าเป็นเจ๊กตีเหล็กร้านลี้เต็กเส็ง เมื่อคนไปตามเจ๊กห้อย (บิดาของนายแก้ว แสงอินทร์) มาถึงแล้วก็ชงน้ำชาถวาย ปรากฏว่าน้ำชาร้อนๆ ที่ชงน้ำเดือดใหม่ๆ ร่างทรงดื่มได้อย่างสบาย มิได้แสดงอาการว่าร้อนแต่อย่างใด เจ้าพ่อในร่างทรงได้นอกกับทุกคนในที่นั้นว่า ให้ระวังให้ดีจะเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ และเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นจริงตามที่เจ้าพ่อทำนายไว้

            เรื่องที่ 4 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2528 หลังจากที่เสร็จงานประจำปีเจ้าพ่อแล้ว 1 วัน ก็จะเกิดไฟไหม้ขึ้นที่บ้านไม้เก่าแก่หลังหนึ่งซึ่งสร้างอยู่เหนือศาลเจ้าพ่อขึ้นไปเล็กน้อย ไฟได้ไหม้บ้านหลังนั้นวอดวาย มีคนถูกไฟคลอกตายด้วย 1 คน ในละแวกนั้น มีบ้านเรือนติดกันอยู่หนาแน่น ไฟน่าจะลุกลามมากกว่านั้น แต่ด้วยเดชะบารมีเจ้าพ่อได้ปัดเป่าความพินาศไปไม่ให้เกิดมากกว่านั้น โดยมีผู้เล่าว่า เมื่อบอกกล่าวเจ้าพ่อให้ช่วยแล้ว ปรากฏว่าลมที่พัดกระพือได้หยุดลงและมีฝนตกลงมา ไฟก็เริ่มมอดลงเป็นอัศจรรย์

            เรื่อง ที่ 5 มีเจ้าของร้านขายยาแห่งหนึ่ง    ชาวบ้านเรียกกันว่า “หมอโข่ง” ได้พูดเล่นๆ ว่า ถ้าตนได้เป็นเท่านั้ง จะหาเมียให้เจ้าพ่อ ครั้นปีต่อมา หมอโข่งได้รับเลือกให้เป็นเท่านั้งด้วยคนหนึ่ง ก็นึกถึงคำพูดที่ได้พูดไว้จึงไปปรึกษากับนายแก้ว แสงอินทร์ พิธีการคนสำคัญว่าจะหาเจ้าแม่หรือ “ปุงเท่าม้า” มาให้เจ้าพ่อ จะต้องทำประการใด ก็มีการเข้าทรงถามท่าน เจ้าพ่อบอกว่า ไม่ต้องการ ท่านอยากอยู่เป็นโสดเพราะถ้าท่านมีเมียแล้ว ภาระที่จะต้องคอยดูแลตลาดและปกป้องรักษาลูกหลานจะลดน้อยลงไป ความดำริของหมอโข่งก็เลยต้องเลิกล้ม

ที่พัก โรงแรม จังหวัดพิจิตร


ที่พัก โรงแรม พิจิตร

(รหัสทางไกล 056)
( ราคาห้องพักอาจเปลี่ยนแปลงได้ โปรดสอบถามจากโรงแรมก่อนเข้าพัก )
 
พิจิตร
อำเภอเมืองฯ
จิตรวิไล514-516 ถนนบุษบา โทร 611398 จำนวน 13 ห้อง ราคา 100-180 บาท
พิจิตรพลาซ่า9 ถนนสระหลวง โทร 613502-9 จำนวน 101 ห้อง ราคา 600-900 บาท
เมืองทอง28 ถนนธิตะจารี โทร 611128,611671 จำนวน 45 ห้อง ราคา 130-200 บาท
ศรีมาลา 19/29 ถนนศรีมาลา โทร 611238 จำนวน 12 ห้อง ราคา 120-150 บาท
ศรีมาลา 22/84 ถนนศรีมาลา โทร 611322 จำนวน 20 ห้อง ราคา 160-350 บาท
สระหลวง528-530 ถนนบุษบา โทร 611278 จำนวน 10 ห้อง ราคา 100-180 บาท
โอฆะนคร2/91 ถนนสระหลวง โทร 611206, 611321 จำนวน 76 ห้อง ราคา 350-2000 บาท
อำเภอตะพานหิน
ตะพานหิน7/14 ถนนอุดมศรี โทร 621124 จำนวน 21 ห้อง ราคา 140-240 บาท
นิวหัวหิน01/1-2 ถนนสะพานรถไฟ โทร 621282,621771-3 โทรสาร 621773 จำนวน 60 ห้อง ราคา 150-320 บาท
เปรมชัย80-86 ถนนสะพานรถไฟ เลิศดิลก 27-33 ถนนสะพานรถไฟ โทร 621012 จำนวน 16 ห้อง ราคา 100-150 บาท
โรสอินน์57-59 ถนนชมฐีระเวช โทร 621044,621237,622036 โทรสาร 621808 จำนวน 82 ห้อง ราคา 450-1200 บาท
ศรีฟ้า08/1 ถนนอุดมศรี หยกฟ้า 21-24 ถนนสะพานรถไฟ
อำเภอบางมูลนาก
เทพสุนี278/1 ถนนประเวศน์เหนือ โทร 631182 จำนวน 11 ห้อง ราคา 80-180 บาท
ริมน่าน01/37 ถนนชูเชิดน่าน โทร 631084 จำนวน 12 ห้อง ราคา 100-250 บาท
ฮะเฮงหลี89 ถนนประชาเมือง โทร 631482 จำนวน 8 ห้อง ราคา 100-130 บาท
ที่พักแรมสำหรับเยาวชนสำหรับเยาวชนหรือสถาบันการศึกษาที่ประสงค์ทางท่องเที่ยวสู่จังหวัดพิจิตรเป็นหมู่คณะในช่วงปิดภาคเรียน สามารถติดต่อจองที่พักได้ที่ ผู้จัดการและครูใหญ่โรงเรียนเมธีพิทยา โรงเรียนเมธีพิทยา ต. ท่าบ่อ อ. เมือง พิจิตร ลักษณะที่พักเป็นห้องเรียน 18 ห้อง สามารถรับผู้เข้าพักได้ 500 - 700 คน ระยะเวลาที่อนุญาตให้เข้าพักได้คือ 1-7 วัน ในช่วงเวลาปิดเทอม และ 1-2 วันในช่วงที่โรงเรียนปิดทำการเรียนการสอน

สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดพิจิตร

วัดท่าหลวง

วัดท่าหลวง เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดินทางผ่านเมืองพิจิตร เพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.


อุทยานเมืองเก่าพิจิตร

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า สร้างในสมัยพระยาโคตรบอง ประมาณปี พ.ศ. 1601 ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นเมืองโบราณ ประกอบไปด้วย กำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ มีสวนรุกขชาติกาญจนกุมารซึ่งกรมป่าไม้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 ทำให้ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และภายในอุทยานยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจ คือ

ศาลหลักเมือง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พ่อปู่

วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนื้เมื่อ พ.ศ.2478 ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆ ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา 2 ชั้น มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่

ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะเป็นช่องขุดลึกลงไปในดิน มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่ง ก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย

เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยุ่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะแต่ตื้นเขิน สันนิษฐานว่าแต่เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายพิจิตร-สามง่าม-วังจิก ทางหลวงหมายเลข 115 และ ทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 6


พระพุทธเกตุมงคล หรือ หลวงพ่อโตตะพานหิน วัดเทวปราสาท

เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร แท่นสูง 4 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2508 และเสร็จเมือปี พ.ศ. 2513 นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วน และใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกล ทางเข้าวัดอยู่บริเวณเชิงสะพานแม่น้ำน่าน

วัดพระพุทธบาทเขารวก


ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลวังหลุม อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินไปประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีรอยประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี และมี พระอาจารย์โง่น ไสรโย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังจำพรรษาอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธวิโมกข์ปางสมาธิ มอบให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลองที่ทำด้วยไม้ประดู่ใหญ่ที่สุดในโลก และรูปปั้นฤาษีอายุ 1,000 - 1,500 ปี ซึ่งเป็นหินศิลาแลงจากลุ่มแม่น้ำเขิน ภายในวัดยังมีสวนสัตว์ขนาดเล็กซึ่งมีสัตว์หลายชนิดไว้ให้ชมและศีกษาอีกด้วย

วัดโพธิ์ประทับช้าง

วัดโพธิ์ประทับช้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2242-2244 ในสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี(ขุนหลวงสรศักดิ์หรือพระพุทธเจ้าเสือ) พระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ณ สถานที่ประสูติของพระองค์
วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำพิจิตรเก่า หน้าวัดมีต้นตะเคียนซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุราว 260 ปี วัดโดยรอบได้ 7 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 7 คนโอบ ภายในวัดมีพระวิหารสูงใหญ่ มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478 นอกจากนี้ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ได้สร้างอนุสาวรีย์พระพุทธเจ้าเสือไว้เป็นที่ระลึก ข้างที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างอีกด้วย

การเดินทาง วัดนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 27 กิโลเมตร ไปตามถนนสายพิจิตร - วังจิก(ทางหลวงหมายเลข1068) ประมาณ กม.ที่ 12-13 เลี้ยวแยกซ้ายไปทางอำเภอโพธิ์ประทับช้าง (ทางหลวงหมายเลข 1300) ก่อนถึงตัวอำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงวัดโพธิ์ประทับช้าง

วัดนครชุม

ตั้งอยู่บนถนนสายพิจิตร – สามง่าม - วังจิก (ทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 9 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างในสมัยสุโขทัย มีอายุราว 800 ปี ด้านตะวันออกมีพระอุโบสถเก่าแก่มาก ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน เครื่องบนเป็นไม้โดยใช้สลักไม้แทนตะปู มีช่องระบายลมแทนหน้าต่าง พระอุโบสถหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดท่าหลวง ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ลักษณะแบบสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยก่อน 

วัดห้วยเขน

ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยเขน อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 8 กิโลเมตร ไปตามถนนสายบางมูลนาก - วังงิ้ว ภายในวัดมีโบสถ์เก่าซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพของเก่าโบราณที่ยังไม่มีการตกแต่งเพิ่มเติมใดๆ


วัดหัวดง

ตั้งอยู่หมู่ 7 ตำบลหัวดง ทางตอนใต้ของตัวเมืองพิจิตรไปตามเส้นทางสายพิจิตร - ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2413 ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ. 2468 มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อวันที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ได้พบพระรูปเหมือนหลวงพ่อเงินขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว เนื้อนวโลหะ(ทองเหลือง)แทรกขึ้นมาที่ต้นอินทนิลซึ่งมีอายุประมาณ 20 ปีเศษ หลวงพ่อเงินเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักและเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก

บึงสีไฟ

บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง และชมพระอาทิตย์ตก กลางบึ่งสีไฟ ในยามเย็น บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร นอกจากนั้นภายในบึ่งสีไฟยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พิจิตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2527 มีเนื้อที่ 170 ไร่ เป็นสวนพักผ่อนริมบึงสีไฟ มีสะพานทอดลงน้ำสู่ศาลาใหญ่ที่จัดไว้เป็นที่พักย่อน นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารปลาและชมอาทิตย์อัสดง

รูปปั้นพญาชาละวัน เป็นรูปปั้นจระเข้อยู่ด้านหน้าบึงสีไฟ ที่มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ภายในตัวจระเข้นี้ทำเป็นห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่ง

สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ ลักษณะอาคารเป็นรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในความดูแลของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ วันธรรมดาตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันหยุดราชการตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. โทร. 0 5661 1309 www.fisheries.go.th/if-phichit

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจังหวัดพิจิตร จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆ ที่ชาวบ้านผลิตขึ้นเอง เช่น เครื่องสานจากผักตบชวา ผ้าทอบ้านป่าแดง มะขาวแก้วสี่รส ฯลฯ เปิดจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยจะเปิดตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น

เหมืองแร่ทองคำเขาพนมพา

บ้านเขาพนมพา หมู่ 7 ตำบลหนองพระ เป็นเนินเขาขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นเขาลูกโดดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ เป็นเหมืองทองคำเปิดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปซื้อดินที่ถลุงจากเขาพนมพา นำไปร่อนยังสถานที่ที่ทางองค์การบริหารจังหวัดพิจิตรจัดให้ สำหรับนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมกรรมวิธีการร่อนหาทองคำแบบชาวบ้านได้ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร โทร. 0 5661 6376, 0 5661 2854


วัดโรงช้าง

ตั้งอยู่ที่ตำบลโรงช้างทางทิศใต้ของตัวเมือง ติดกับถนนพิจิตร – สามง่าม - วังจิก (ใช้ทางหลวงหมายเลข 115 และทางหลวงหมายเลข 1068) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 5 วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพระยาโคตรบองขึ้นครองราชย์ สถานที่แห่งนี้เรียกว่า กองช้าง เพราะเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาได้เรียกกันเพี้ยนไปเป็น คลองช้าง จนกระทั่งทางราชการได้เปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดนี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโรงช้าง บริเวณวัดโรงช้างมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่กลางแจ้ง 3 องค์ เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ปางห้ามญาติ และปางไสยาสน์ สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือเจดีย์องค์ใหญ่ของวัด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2517 บริเวณรอบองค์เจดีย์มีตู้พระไตรปิฎก จำนวน 108 ตู้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทำบุญใส่ตู้เพื่อเป็นสิริมงคล และภายในองค์เจดีย์ได้สร้างเป็นห้องลับใต้ดินเพื่อใช้สำหรับ เก็บแผ่นอิฐจารึกพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยได้เล็งเห็นว่า ในอนาคตอาจมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเช่น สงครามนิวเคลียร์ซึ่งอาจทำให้พระไตรปิฏกสูญหายจากโลกได้

ไร่องุ่นดงเจริญ (ไร่องุ่นขจรฟาร์ม)

ตั้งอยู่ที่ ถนนตลิ่งชัน-บึงสามพัน อยู่ห่างจากขจรฟาร์ม (ฟาร์มนกกระจอกเทศ) ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นไร่องุ่นพันธุ์ดี ในพื้นที่ 200 ไร่ พันธุ์ที่มีชื่อเสียงคือพันธ์แบล็คควีน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทิวทัศน์ที่สวยงามของไร่องุ่น ได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกองุ่นทั้งสำหรับทำไวน์ องุ่นทานเป็นผลสดๆ ชมโรงบ่มไวน์ ที่ไร่องุ่นนี้ จะออกผลให้ซื้อทานได้ในช่วง มีค.-เมย. กค-สค. และช่วงที่ออกผลดีที่สุด คือช่วงพย.-ธค. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 5663 3555-6, 0 2673 1153-4, 08 1675 4345

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 ถึงแยกบางมูลนาก-ตากฟ้า-นครสวรรค์ เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 13 กม

วัดที่แนะนำของจังหวัด

                                                     
         วัดท่าหลวง  เป็นวัดสำคัญของจังหวัดพิจิตร อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันตก ถนนบุษบา ใกล้ศาลากลางจังหวัดเก่า  วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารว ิชัยสมัยเชียงแสน หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงามมาก มีหน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพิจิตร ประวัติมีอยู่ว่า พระพิจิตร ซึ่งเป็นเจ้าเมืองอยากได้พระประธานมาประดิษฐานที่เมืองพิจิตร ในโอกาสที่ทัพกรุงศรีอยุธยาได้เดิน ทางผ่านเมืองพิจิตรเพื่อไปปราบขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ พระพิจิตรจึงได้ขอร้องแม่ทัพว่า เมื่อปราบขบถเสร็จแล้วให้หาพระพุทธรูปมาฝาก ดังนั้น เมื่อเสร็จศึก แม่ทัพนั้นจึงได้อาราธนาพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรลงแพลูกบวบล่องมาทางแม่น้ำปิง โดยฝากเจ้าเมืองกำแพงเพชรไว้ ต ่อมาจึงได้อาราธนาหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถวัดนครชุมก่อน แล้วจึงย้ายมาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จนถึงปัจจุบัน  พระอุโบสถจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการหลวงพ่อเพชรได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. 
  

    วัดหิรัญญาราม หรือ วัดบางคลาน    เดิมมีชื่อว่า “วัดวังตะโก” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ สิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจของวัดนี้คือ พิพิธภัณฑ์นครไชยบวร เป็นพิพิธภัณฑ์รูปมณฑป 2 ชั้น ชั้นบนประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของ หลวงพ่อเงิน เกจิอาจารย์ที่ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศรู้จักและเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่งที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ชั้นล่าง เป็นที่แสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ทางวัดได้สะสมไว้ โดยส่วนใหญ่จะเป็ นวัตถุที่มีผู้นำมาถวาย เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ เปิดให้ประชาชนนมัสการระหว่างเวลา 08.00-17.00 น.  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   โทร. 0 5666 9030-1 
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1067 เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 8 กิโลเมตร


      วัดเขารูปช้าง   ตั้งอยู่ที่ตำบลดงป่าคำ ตามเส้นทางสายพิจิตร-ตะพานหิน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร มีเจดีย์แบบลังกาซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกันมองดูคล้ายช้าง แต่เดิมเป็นเจ ดีย์เก่ามาก่อน และทางวัดได้ทำการปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อประมาณ 20 ปีมานี้ โดยประดับกระเบื้องเคลือบสีทองทั้งองค์ มีรั้วรอบองค์เจดีย์ สำหรับลานกว้างบนยอดเขา ทางวัดได้สร้างวิหารใหญ่ขึ้นหลังหนึ่งและมีเจดีย์เก่าอยู่องค์หนึ่งเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงเหลี่ยมย่อมุมไม ้สิบสอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา มีตัวระฆังเป็นกลีบมะเฟืองแต่ยอดเจดีย์หักแล้ว นอกจากนั้นยังมีมณฑปแบบจตุรมุขหลังเก่าอยู่ใกล้กับโบสถ์หลังใหม่ ภายในมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสำริดและที่ฝาผนังมีภาพเขียนเรื่องไตรภูมิพระร่วง


     วัดพระพุทธบาทเขารวก     ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลวังหลุม อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินไปประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีรอยประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี และมี พระอาจารย์โง่น ไสรโย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังจำพรรษาอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างพร ะพุทธวิโมกข์ปางสมาธิ มอบให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลองที่ทำด้วยไม้ประดู่ใหญ่ที่สุดในโลก และรูปปั้นฤาษีอายุ 1,000 - 1,500 ปี ซึ่งเป็นหินศิลาแลงจากลุ่มแม่น้ำเขิน ภายในวัดยังมีสวนสัตว์ขนาดเล็กซึ่งมีสัตว์หลายชนิดไว้ให้ชมและศีกษาอีกด้วย